O23 การจัดการทรัพย์สินของราชการ ของบริจาค การจัดเก็บของกลาง และ แนวทางการนำไปปฏิบัติ

1. การจัดการทรัพย์สินของทางราชการและของบริจาค

แสดงการวางระบบการดูแลจัดการทรัพย์สิน เพื่อป้องกันการนำทรัพย์สินของทางราชการ และของบริจาคไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบ


1.จำแนกประเภททรัพย์สินของทางราชการ อาวุธยุทภัณฑ์ และของบริจาค
2.กำหนดแนวทางควบคุม กำกับดูแลรักษา ตรวจนับ ตรวจสอบสภาพการใช้งานทรัพย์สินของราชการ ของบริจาคโดยเฉพาะทรัพย์ประเภทที่มีความเสี่ยงในการนำไปใช้โดยมิชอบ
3.ตรวจสอบและตรวจนับอาวุธยุทธภัณฑ์ของสถานีตำรวจเพื่อ่ให้มีความพร้อมต่อการใช่งานในภารกิจประจำวัน
4.กำหนดแนวทางการยืมหรือเบิกจ่ายทรัพยืสินของราชการหรือของบริจาคไปใช้ปฏิบัติงานที่ชัดเจน
5.แนวทางการเผยแพร่หรือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ทรัพย์สินของราชการและของบริจาค ได้อย่างถูกต้อง

2. การจัดเก็บของกลาง

ของกลางสิ่งใดมาถึงสถานีตำรวจ ให้พนักงานสอบสวนจอรูปพรรณสิ่งของลงในรายงานประจำวันและสมุดยึดทรัพย์ของกลาง แล้วเขียนเลขลำดับที่ยึดทรัพย์ติดไว้กับสิ่งของนั้นให้มั่นคงอย่าให้หลุดหรือสูญหายได้และเก็บของกลางไว้ตามระเบียบ การยึด การมอบ การรับคืนของกลาง ให้ผู้ยึด ผู้มอบ ผู้รับ ลงซื่อไว้ในสมุดยึดทรัพย์ของกลางและรายงานประจำวันเป็นสำคัญ ตามประมวลระเบียบการดำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 15 ข้อ 418 (1)

  1. ของกลางรายใดที่เป็นของใหญ่โต หรือมีเป็นจำนวนมาก หรือที่ทำการไม่มีสถานที่จัดเก็บเพียงพอ ไม่สามารถจะนำมาเก็บรักษาไว้ ก็ให้ฝากไว้ยังสถานีตำรวจอื่นเก็บรักษาไว้จนกว่าจะมารับคืนไปและให้สถานีตำรวจนั้นรับฝากไว้ลงรายงานประจำวันและสมุดยึดทรัพย์ของกลางตามระเบียบ หากจำเป็นต้องจัดสถานที่อื่นในการเก็บรักษาของกลางและจัดจ้างผู้ดูแลสถานที่ ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการพัสดุ ตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 15 ข้อ 418 (11)
  2. ผู้มีหน้าที่การเก็บรักษาของกลางและการมอบหมายผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นไป ตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 15
  3. ของกลางในคดีอาญา ซึ่งเกี่ยวแก่กรมในกระทรวงใดมีระเบียบหรือข้อตกลงไว้โดยเฉพาะก็ให้ปฏิบัติไปตามระเบียบหรือข้อตกลงนั้นๆ ตามประมวลระเบียบตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 15 บทที่ 1 ข้อ 414 (2)

3. สำนวนสอบสวนคดีอาญาและคดีจราจร

     แนวทางการจัดเก็บสำนวนการสอบสวนคดีอาญาและคดีจราจรให้หัวหน้างานสอบสวนมีหน้าที่เก็บรักษาไว้ในห้องหรือตู้ที่จัดทำไว้โดยเฉพาะให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และระมัดระวังมิให้สูญหาย จัดการเก็บสำนวนการสอบสวนและสำเนาสำนวนการสอบสวน ให้แยกเป็นสัดส่วน ได้แก่

          1. สำนวนการสอบสวนที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ให้แยกเก็บตามรายชื่อของพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบการทำสำนวน รวมไว้กับสมุดบันทึกคดีของพนักงานสอบสวน

          2. สำนวนสอบสวนที่พนักงานอัยการไม่รับพิจารณา สำนวนการสอบสวนที่พนักงานอัยการมีคำสั่งงดการสอบสวน และสำเนาสำนวนการสอบสวน ให้แยกเก็บเรียงลำดับตามหมายเลขคดี ปี พ.ศ. และจัดทำสมุดเก็บสำนวนการสอบสวนที่พนักงานอัยการไม่รับพิจารณา(แบบ ส.๕๖-๗๗) สมุดเก็บสำนวนการสอบสวนที่พนักงานอัยการสั่งงดการสอบสวน(แบบ ๕๖-๗๘) สมุดเก็บสำเนาสำนวนการสอบสวน(แบบ ๕๖-๗๙) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับลำดับ เลขคดี ชื่อผู้กล่าวหา ชื่อผู้ต้องหา ข้อหา ชื่อพนักงานสอบสวน หมายเหตุ

          3. การยืมสำนวนการสอบสวน และสำเนาการสอบสวน ให้หัวหน้างานสอบสวนมีอำนาจอนุญาต เมื่อนำสำนวนการสอบสวน หรือสำเนาสำนวนการสอบสวนออกจากที่เก็บ ให้ผู้ยืมลงลายมือชื่อผู้ยืม วัน เดือน ปี ที่ยืม และวันส่งคืนไว้ในช่องหมายเหตุ

รายงานผลการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของราชการ ของบริจาค การจัดเก็ฐของกลาง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2566-มีนาคม2567

เดือนมีนาคม

เดือนกุมภาพันธ์

เดือนมกราคม

เดือนธันวาคม

เดือนธันวาคม

เดือนพฤศจิกายน

เดือนตุลาคม